อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ที่ตั้ง
ตั้ง : หมู่ที่ 10  ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล 91130
โทรศัพท์: 0-7475-2457
โทรสาร : 0-7475-2480
อีเมลล์ : saokalong@gmail.com
website : http:// www.sao-kalong.go.th
เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.

อาณาเขตของตำบลควนกาหลง
ตำบลควนกาหลง มี 11 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ทั้งหมด 270 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 174,235 ไร่ มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 14,799 คน ภูมิประเทศเป็นที่ราบลาดอียงสลับเขา โดยพื้นที่ลาดเอียงสู่ชายทะเลด้านทิศตะวันตกและมี อาณาเขตติดต่อดังนี้
ด้านทิศเหนือ ติดต่อตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง และตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เริ่มต้นบริเวณ P H 170855 ยอดเนิน 470
ด้านทิศใต้ ติดต่อกับตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง ตำบลควนโดน จังหวัดสตูล อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ด้านทิศตะวันออก ติดต่อตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ด้านทิศตะวันตก ติดต่อตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ประวัติ
อบต.ควนกาหลง
ตำบลควนกาหลงแยกมาจากตำบลทุ่งนุ้ย โดยมีนายคลาย มีขำ เป็นกำนันคนแรก ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากที่อื่น เช่น จังหวัดพัทลุง สงขลา และจากอำเภอควนโดน จ.สตูล คำว่าควนกาหลงหมายถึงพื้นที่ประกอบด้วยป่าและควนจำนวนมาก เล่ากันว่าแม้แต่สัตว์ปีกเช่น กา เมื่อออกไปหากินตอนเช้า เย็นกลับรังหลงทางหารังไม่เจอ จึงเรียก ควนกาหลง
ปัจจุบันตำบลควนกาหลงแบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้านและได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อปี พ.ศ.2540
วิสัยทัศน์

"เมืองเศรษฐกิจเกษตร การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เป็นศูนย์กลางการศึกษา กีฬา ศาสนา วัฒนธรรม และสาธารณูปโภครบครัน สงบ ปลอดภัย โดยการมีส่วนร่วม"

พันธกิจ

1. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
2. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
3. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ส่งเสริมการท่องเที่ยว
5. ให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
6. กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
7. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงาม
9. ส่งเสริมการพัฒนาสตรีเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
10. ส่งเสริมการกีฬา
11. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
12. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
13. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่าง
14. รักษาความสงบเรียบร้อย ส่งเสริม และสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
15. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
16. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ